วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2559

โรคซิลิโคสิส (Silicosis )

โรคซิลิโคสิส (Silicosis)
      โรคซิลิโคสิส เป็นโรคปอดอักเสบที่เกิดขึ้นจากการสูดละออง silica เข้าไปในปอดติดต่อกันเป็นเวลานาน silica ที่สูดเข้าไปจะทำให้ปอดอักเสบและมีพังผืดเกิดขึ้น
ลักษณะทางคลินิก
       ซิลิโคสิสแบบเรื้อรัง (chronic form) ผู้ป่วยจะมีอาการเกิดขึ้นหลังจากได้รับฝุ่นละออง silica ในขณะปฏิบัติงานเป็นระยะเวลา
เกินกว่า 15 ปี ซิลิโคสิสแบบเร่ง (accelerated form) ที่มีอาการเกิดขึ้น ในระยะเวลา 5-15 ปี เกิดจากการหายใจเอาฝุ่นละอองเข้าไป
จำนวนมาก ซิลิโคสิสแบบเฉียบพลัน (acute form) ผู้ป่วยมีอาการเกิดขึ้นในระยะเวลาเป็นเดือน มักพบในการทำงานบางอย่างที่ได้รับฝุ่น
ละอองของ silica จำนวนมาก โดยไม่ป้องกัน อ่านเพิ่มเติม

โรคปอดฝุ่นฝ้าย

โรคปอดฝุ่นฝ้าย
        โรคปอดฝุ่นฝ้าย บิสสิโนสิส พิษภัยทำป่วยจากสิ่งทอ หนึ่งในอันตรายของคนที่ทำงานหรือต้องสัมผัสกับสิ่งทอต่าง ๆ เป็นเวลานาน ไม่ใช่แค่หนุ่มสาวโรงงานเท่านั้น แม้แต่ช่างตัดเสื้อก็ยังเสี่ยง 
         การทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม นอกจากจะต้องระมัดระวังความเสี่ยงที่เกิดจากการใช้เครื่องมือต่าง ๆ แล้ว การที่ต้องสัมผัสและสูดรับเอาฝุ่นละอองต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายทุกวัน ก็มีความเสี่ยงที่จะทำให้ป่วยด้วยโรคระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับสิ่งทอต่าง ๆ อาจป่วยด้วยโรคบิสสิโนสิส หรือ โรคปอดฝุ่นฝ้าย ได้เช่นกัน กระปุกดอทคอม ชวนมาทำความรู้จักกับโรคนี้ พร้อมวิธีป้องกันอ่านเพิ่มเติม

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma)

โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ
         โรคหอบหืดจากการประกอบอาชีพ (Occupational asthma) เกิดจากการทำงานสัมผัสกับสารก่อโรคในที่ทำงาน ซึ่งอาจเป็นการสัมผัสสารกลุ่มน้ำหนักโมเลกุลต่ำ เช่น สารยึดติด สารเคลือบต่าง ๆ สารเคมีที่ใช้ในกระบวนการผลิตโพลิเมอร์ ผลิตอีพอกซีย์ และไอที่เกิดจาก การชุบเชื่อมโลหะต่าง ๆ การสัมผัสสารก่อโรค  ชนิดน้ำหนักโมเลกุลสูง  เป็นสารที่เกิดจากผลผลิตทางชีวภาพ ได้แก่ เชื้อรา แบคทีเรีย แมลง พืช ต่าง ๆ เช่น เครื่องเทศ กาแฟ ละหุ่ง  ถั่วเหลือง เกสรดอกไม้ แป้ง เป็นต้น
ลักษณะงานและอาชีพที่เสี่ยงอ่านเพิ่มเติม

โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช

โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช
      โรคพิษจากสารกำจัดศัตรูพืช ถือเป็นโรคและการเจ็บป่วยที่เกิดจากการประกอบอาชีพอย่างหนึ่ง เกิดจากการได้สัมผัสสารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชเข้า สู่ร่างกาย ทั้งทางปาก ผิวหนัง และการหายใจ
ผลกระทบด้านสุขภาพจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบที่เป็นพิษเฉียบพลัน ผู้ป่วยจะมีอาการในทันทีหลังจากสัมผัสสารเคมี เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ท้องร่วง หายใจติดขัด ตาพร่า เป็นต้น
ผลกระทบที่เป็นพิษเรื้อรัง เกิดจากพิษสะสมที่ก่อให้เกิดโรคหรือปัญหาอื่นๆ เช่น มะเร็ง เบาหวาน อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคผิวหนังต่างๆ การเป็นหมัน การพิการของทารกแรกเกิด หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ เป็นต้นอ่านเพิ่มเติม


                                                                                                                         

ตาบอดสี (Color blindness)

ตาบอดสี (Color blindness)
          ตาบอดสี (Color blindness) เป็นภาวะ หรือบางคนเรียกว่าเป็นโรค ที่ตามองเห็นสีบางสีผิดไปจากคนปกติ ไม่ใช่ไม่เห็นสี เช่น คนตาบอดสีแดง ไม่ใช่ว่าเขาจะไม่เห็นสีแดงของวัตถุเลย เพียงแต่เขาอาจเห็นวัตถุนั้นเป็นสีเทา และเนื่อง จากเขาถูกสอนตั้งแต่เด็กว่าวัตถุนั้นสีแดง (ทั้งๆที่เขาเห็นเป็นสีเทา) คนตาบอดสีแดงจึงบอกสีแดงได้ถูกต้อง เมื่อรับการตรวจวินิจฉัยว่าตาบอดสีแดง จึงไม่ยอมรับ เพราะเขาก็บอกได้ว่า นั่นเป็นสีแดง ซึ่งความสามารถในการเห็น และการแยกความแตกต่างของสีต่างๆ นอกจากเกิดจากความปกติของเซลล์รับรู้การเห็นสี (Photo receptor cell) แล้ว ยังต้องอาศัยประสบการณ์เรียนรู้ด้วย

ตาบอดสี เป็นภาวะพบได้บ่อยภาวะหนึ่ง พบได้บ่อยกว่าในผู้ชาย โดยในผู้ ชายพบภาวะนี้ได้ประมาณ 8% ของประชากรทั้งหมด แต่พบในผู้หญิงได้เพียงประมาณ 0.4%อ่านเพิ่มเติม

วันพุธที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2559

ฮีโมฟีเลีย

ฮีโมฟีเลีย
ฮีโมฟีเลียเป็นโรคทางพันธุกรรมที่เกิดจากความผิดปกติเกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด  เป็นโรคที่พบไม่บ่อยโดยมากพบในเพศชาย

ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียจะมีโปรตีนตัวหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือดหายไปหรือมีไม่เพียงพอ  โปรตีนเหล่านี้รู้จักกันในนาม แฟคเตอร์ (Factor) ซึ่งมีอยู่ในเลือดตามธรรมชาติ  ร่างกายจะต้องอาศัยแฟคเตอร์ (Factor) เหล่านี้ในการทำให้เลือดแข็งตัวและช่วยรักษาแผลเมื่อร่างกายได้รับบาดเจ็บหรือสูญเสียเลือด  นับเป็นความโชคดีที่ผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียสามารถดำเนินชีวิตด้วยความกระฉับกระเฉง คล่องแคล่ว หากได้รับการรักษาที่เหมาะสมภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์อ่านเพิ่มเติม

โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน

     เบาหวาน เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน โรคเบาหวานจะมีอาการเกิดขึ้นเนื่องมาจากการที่ร่างกายไม่สามารถใช้น้ำตาลได้อย่างเหมาะสม ซึ่งโดยปกติน้ำตาลจะเข้าสู่เซลล์ร่างกายเพื่อใช้เป็นพลังงานภายใต้การควบคุมของฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานร่างกายจะไม่สามารถนำน้ำตาลไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผลที่เกิดขึ้นทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ในระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ถ้าหากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม อาจนำไปสู่สภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงได้อ่านเพิ่มเติม